skip to Main Content

ปตท. ลงนาม MOU ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ บริษัท ซีพีพี ในโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

นายณรงค์ไชย ปัญญไพโรจน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ลงนาม บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction  Program : T-VER) กับ ดร.พฤกษ์ อักกะรังสี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ คุณอานนท์ ฤทธิ์ธาร ผู้อำนวยการสายงานปฏิบัติการ ผู้แทนจากบริษัท ซีพีพี จำกัด สำหรับการลงนามความร่วมมือดังกล่าว เป็นการต่อยอดจากการพัฒนาก๊าซไบโอมีเทนอัดจากน้ำเสียและของเสียโรงงานอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มของบริษัท ซีพีพี โดยการกักเก็บก๊าซมีเทนจากการบำบัดน้ำเสียแบบไร้อากาศ มาใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนก๊าซ NGV ในสถานีบริการ NGV ในพื้นที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ดำเนินการตั้งแต่ปี 2560 จนถึงปัจจุบันได้ต่อยอดความร่วมมือเพื่อขอการรับรองคาร์บอนเครดิตในโครงการ T-VER ทั้งนี้เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาโครงการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำของประเทศอย่างแข็งแรงและยั่งยืนตลอดไป ที่มา ปตท. ลงนาม MOU ร่วมกับ…

Read more

ส่องมาตรการรับมือวิกฤติพลังงาน 20 ประเทศ ถึงเวลาที่ไทยต้องเอาจริงกับการประหยัดพลังงาน

ผลพวงจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่เริ่มมาตั้งแต่ต้นปี 2565 ส่งผลโดยตรงให้ราคาพลังงาน ทั้งก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบ และถ่านหิน ขยับสูงขึ้นมาก ทำให้ประเทศที่เป็นผู้นำเข้าพลังงานสุทธิเช่นเดียวกับไทย ต่างได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า  แม้รัฐบาลของแต่ละประเทศจะมีความพยายามที่จะตรึงราคาเอาไว้ แต่ก็ทำได้เพียงบรรเทาปัญหาได้แค่ระดับหนึ่งเท่านั้น ท้ายที่สุดก็ต้องปล่อยให้ทั้งค่าไฟฟ้าและน้ำมันปรับเพิ่มขึ้น ในภาวะที่สถานการณ์โลกเป็นตัวแปรสำคัญที่ไม่อาจควบคุมได้นี้ ทางออกที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาวิกฤติพลังงานที่ทำได้ก็คือ “การประหยัดพลังงาน” ซึ่งหลายๆประเทศ ต่างออกมาตรการและรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการประหยัดพลังงานกันไปแล้ว และเนื่องจากปีนี้ ประเทศไทยก็ต้องเจอปัญหาหนักหนาสาหัสในเรื่องราคาพลังงานเช่นกัน ศูนย์ข่าวพลังงาน Energy News Center (ENC)  จึงขอหยิบเอาตัวอย่างการประหยัดพลังงานของประเทศต่างๆ 20 ประเทศ ที่ทางกองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงานของไทย สรุปรวบรวมเอาไว้ (ข้อมูล ณ  31 ส.ค. 2565 ) มาเน้นย้ำ เพื่อที่ภาครัฐ เอกชน และ ประชาชน จะได้เรียนรู้และตระหนักได้ว่าต้องเอาจริงเอาจังกับการประหยัดการใช้พลังงานกันได้แล้วตั้งแต่วันนี้ ยุโรปเน้นปรับอุณหภูมิเครื่องทำความร้อน/เครื่องปรับอากาศ…

Read more

กฟผ.โชว์ระบบแบตเตอรี่กักเก็บพลังงานและโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับรับมือความผันผวนพลังงานหมุนเวียน

กฟผ.โชว์ระบบแบตเตอรี่กักเก็บพลังงานและโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับที่ช่วยลดความผันผวนในระบบที่เกิดจากพลังงานหมุนเวียน และลดการนำเข้าLNGราคาแพง เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 65 ที่ผ่านมานายประเสริฐศักดิ์ เชิงชวโน รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)คนใหม่ นำคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชมระบบแบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน (Battery Energy Storage System : BESS) ณ สถานีไฟฟ้าแรงสูงชัยบาดาล จ.ลพบุรี และโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับลำตะคองชลภาวัฒนา จ.นครราชสีมา เพื่อชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของการลงทุนที่ช่วยลดความผันผวนในระบบไฟฟ้าที่มาจากพลังงานหมุนเวียนทั้งพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ที่ผลิตไฟฟ้าได้เป็นบางช่วงเวลา โดยปัจจุบัน กฟผ.มีการลงทุนระบบ BESS เป็นโครงการนำร่องที่เริ่มใช้งานแล้วทั้งหมดขนาด 37 เมกะวัตต์-ชั่วโมง ( MWh )​ที่ถือว่ามีขนาดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ แยกเป็นจุดที่สถานีไฟฟ้าแรงสูงชัยบาดาล จ.ลพบุรี ขนาด 21 MWh ที่พาคณะสื่อมวลชนมาเยี่ยมชม และอีก 16…

Read more

กกพ.เปิดให้ยื่นข้อเสนอขายไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 4 ประเภท ตั้งแต่ 4-25 พ.ย. 2565 นี้

คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) ประกาศเปิดรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 4 ชนิดอย่างเป็นทางการ  แจ้งเปิดให้ยื่นเอกสารได้ตั้งแต่ 4-25 พ.ย. 2565 นี้ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ทางเว็บไซต์ กกพ. และจะประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือกในวันที่ 15 มี.ค. 2566 ย้ำเปิดรับซื้อไฟฟ้ารวม 5,203 เมกะวัตต์ จากก๊าซชีวภาพ 335 เมกะวัตต์ ,ลม 1,500 เมกะวัตต์ ,แสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับแบตเตอรี่ 1,000 เมกะวัตต์ และพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน 2,368 เมกะวัตต์ ผู้สื่อข่าวศูนย์ข่าวพลังงาน (Energy News Center – ENC) รายงานว่า นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) ได้ลงนามประกาศเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in-Tariff (FiT) พ.ศ. 2565-2573 อย่างเป็นทางการ…

Read more

กกพ.จ่อเปิดรับซื้อไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม 100 เมกะวัตต์ เดือน ธ.ค. 65 ให้ FiTจูงใจมาก 6.08 บาทต่อหน่วย

คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) เตรียมเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม จำนวน 100 เมกะวัตต์ ในเดือน ธันวาคม 2565 นี้ พร้อมกำหนดเงื่อนไขต้องเป็นโรงไฟฟ้าใหม่ที่ไม่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ามาก่อน และต้องมีกำลังผลิตติดตั้งไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ โดยจะเปิดรับซื้อในรูปแบบ FiT อัตราสูง 6.08 บาทต่อหน่วย สัญญา 20 ปี  กำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบปี 2569 ระบุประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือกเดือน พ.ค. ปี 2566 เหตุมีขั้นตอนการยื่นอุทธรณ์เพิ่ม เพื่อให้การแข่งขันเกิดความโปร่งใสมากที่สุด ผู้สื่อข่าวศูนย์ข่าวพลังงาน (Energy News Center- ENC) รายงานว่า คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) เตรียมเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรมในเดือน ธ.ค. 2565 นี้ โดยล่าสุดเมื่อวันที่…

Read more

เทคโนโลยี “พลังงานหมุนเวียน” ก้าวหน้าอีกขั้น เมื่อสแตนฟอร์ดพัฒนา “แผงโซลาร์เซลล์” ที่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ในเวลากลางคืน

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาไม่มีแผงโซลาร์เซลล์ที่ผลิตไฟฟ้าได้ในตอนกลางคืนเลย แต่การวิจัยชิ้นใหม่จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา แสดงให้เห็นถึงโอกาสในการเก็บเกี่ยวพลังงานหมุนเวียนอย่างพลังงานแสงอาทิตย์ได้แม้ในยามที่พระอาทิตย์ไม่สาดส่อง นักวิจัยจากสแตนฟอร์ดดัดแปลงแผงโซลาร์เซลล์ที่มีจำหน่ายทั่วไปเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจำนวนเล็กน้อยในตอนกลางคืน โดยใช้กระบวนการที่เรียกว่าการระบายความร้อนด้วยการแผ่รังสี ซึ่งอาศัยสุญญากาศในอวกาศที่เย็นยะเยือก แม้ว่าแผงโซลาร์เซลล์มาตรฐานสามารถจ่ายไฟฟ้าได้ในระหว่างวัน แต่อุปกรณ์นี้สามารถทำหน้าที่เป็น “แหล่งพลังงานหมุนเวียนที่ต่อเนื่องสำหรับทั้งกลางวันและกลางคืน เพราะต่อให้แผงโซลาร์เซลล์ที่ดัดแปลงด้วยการเพิ่มเทคโนโลยีบางอย่างลงไปแล้วจะสร้างพลังงานจำนวนเล็กน้อยเมื่อเทียบกับแผงโซลาร์เซลล์สมัยใหม่ที่ทำได้ในตอนกลางวัน แต่พลังงานนั้นยังคงมีประโยชน์อยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางคืน เมื่อความต้องการพลังงานต่ำกว่ามาก” ตามผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Applied Physics Letters ระบุ เทคโนโลยีดังกล่าวประกอบด้วยเครื่องกำเนิดเทอร์โมอิเล็กทริก ซึ่งสามารถดึงกระแสไฟฟ้าจากความแตกต่างเล็กน้อยของอุณหภูมิระหว่างอากาศแวดล้อมและเซลล์แสงอาทิตย์ ซานฮุย ฟาน ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด “เรามักจะคิดว่าดวงอาทิตย์เป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญ แต่ความจริงคือความเย็นของอวกาศยังเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญอย่างยิ่ง” ซานฮุย ฟาน ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ผู้เป็นหัวหน้านักวิจัยของโครงการนี้กล่าว ในทางเทคนิค แผงโซลาร์เซลล์ที่ดัดแปลงจะไม่ผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ในตอนกลางคืน แทนที่จะใช้ประโยชน์จากแสงแดด (หรือแสงดาวและแสงจันทร์) นักวิจัยได้เพิ่มเทคโนโลยีที่ใช้ประโยชน์จากการระบายความร้อนด้วยการแผ่รังสี เมื่อวัตถุหันเข้าหาท้องฟ้าในตอนกลางคืน มันจะแผ่ความร้อนออกสู่อวกาศ ซึ่งหมายความว่าวัตถุจะเย็นกว่าอุณหภูมิของอากาศรอบๆ ผลกระทบนี้อาจมีการใช้งานที่ชัดเจนในอาคารทำความเย็น แต่ความแตกต่างของอุณหภูมิก็สามารถนำมาใช้เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าได้เช่นกัน ทั้งนี้เมื่อเกือบ 2…

Read more

SETA 2022 เอกชนชี้ทิศทางโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้ามีแนวโน้มเติบโตขึ้นหลังค่าไฟฟ้าพุ่งสูง

สัมมนา Solar and Storage ในหัวข้อ เกาะติดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านเซลล์แสงอาทิตย์และระบบกักเก็บพลังงาน “Solar PV and Storage : Technology Advancement Update” ซึ่งจัดขึ้นในวันสุดท้ายของงาน SETA 2022 หรืองานประชุมแสดงสินค้าและนิทรรศการด้านไฟฟ้าและพลังงานที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ประจำปี 2565 ภาคเอกชนประสานเสียงยืนยันการติดตั้งโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยบูมแน่  หลังค่าไฟฟ้าปี2565 พุ่งสูงเกิน 4 บาทต่อหน่วย ชี้อีก 20 ปีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากโซล่าร์เซลล์แตะ 6-7 หมื่นเมกะวัตต์ ดันยอดใช้พุ่งถึง 50% เทียบกับเชื้อเพลิงทั้งหมด เหตุคุ้มค่าคืนทุนเร็วใน 5 ปี พร้อมแนะภาครัฐเร่งปรับลดกฎระเบียบโซลาร์รูฟท็อป หวังภาคครัวเรือนเข้าถึงการติดตั้งและผลิตไฟฟ้าใช้เอง เชื่อส่งผลให้การติดตั้งโซล่าร์รูฟท็อปโตแบบก้าวกระโดดแน่ ศ.ดร.ดุสิต เครืองาม นายกสมาคมกิตติมศักดิ์ สมาคมอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ไทย กล่าวว่า  การติดตั้งโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าในประเทศมีแนวโน้มเติบโตแน่นอน จะเห็นได้ว่าในอดีตที่ผ่านมาไทยเริ่มต้นติดตั้งโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าในพื้นที่ห่างไกลสายส่งไฟฟ้า ต่อมาก็เริ่มติดตั้งบนหลังคา หรือที่เรียกว่า โซลาร์รูฟท็อป จากนั้นภาครัฐก็เข้ามาให้การสนันสนุนด้วยระบบการให้เงินส่วนเพิ่มในการผลิตไฟฟ้า หรือ Adder และเปลี่ยนมาเป็นระบบการให้เงินสนับสนุนตามต้นทุนที่แท้จริง(Feed in Tariff -Fit) จนในปี 2565 นี้ เริ่มเข้าสู่ภาวะไม่ต้องรับการสนับสนุนจากภาครัฐแล้ว เนื่องจากต้นทุนการผลิตถูกลงและสามารถแข่งขันได้เอง  เมื่อมาดูในส่วนของกำลังผลิตไฟฟ้าจะพบว่า ในปี 2564 ทั่วโลกมีการติดตั้งโซลาร์เซลล์ทุกชนิดเพื่อผลิตไฟฟ้ารวม 6 แสนเมกะวัตต์ สูงกว่ากำลังการผลิตไฟฟ้าจากทุกเชื้อเพลิงในประเทศไทยที่มีกำลังผลิตรวม 4-5 หมื่นเมกะวัตต์ และในแต่ละปี โลกจะติดตั้งโซลาร์ฯอยู่ประมาณ 1 แสนเมกะวัตต์ โดยจีนประเทศเดียวติดตั้งถึง 5 หมื่นเมกะวัตต์ ขณะที่ประเทศไทยนั้นคาดว่าจะติดตั้งเฉลี่ยปีละ 500 เมกะวัตต์ จากปัจจุบันไทยติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปแล้ว 1,000 เมกะวัตต์ คิดเป็นมูลค่าทางธุรกิจถึง 4 หมื่นล้านบาท และคาดว่าทุกปีจะมีมูลค่าทางธุรกิจเพิ่มขึ้น 1 หมื่นล้านบาท โดยในปี 2568 คาดว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 3 หมื่นล้านบาท  นอกจากนี้การติดตั้งโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้ายังถือว่าคุ้มค่ามาก เมื่อเทียบกับการต้องจ่ายค่าไฟฟ้าในปัจจุบัน โดยค่าไฟฟ้าเดือน ก.ย. 2565 ได้ปรับสูงขึ้นกว่า 4 บาทต่อหน่วยและเมื่อรวมภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยทำให้ค่าไฟฟ้าบ้านเรือนสูงถึง 5.70 บาทต่อหน่วย ขณะที่บ้านที่ใช้ระบบคิดค่าไฟฟ้าแบบ TOU หรืออัตราค่าไฟฟ้าตามช่วงเวลาการใช้ คือกลางวันราคา 7.20 บาทต่อหน่วย กลางคืนราคา 3.80 บาทต่อหน่วย เป็นต้น ซึ่งการที่ค่าไฟฟ้าพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น ภาครัฐได้ให้เหตุผลว่าเกิดจากแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยและในเมียนมาผลิตได้ลดลง ประกอบกับราคาก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG) ที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาแพง  ดังนั้นการติดตั้งโซล่าร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าใช้เองจึงเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าที่สุด ซึ่งปัจจุบันต้นทุนโซลาร์เซลล์ถูกลงทำให้กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารขนาดใหญ่ที่ติดตั้งโซลาร์ฯ ได้รับการคืนทุนเร็วภายใน 5 ปี ส่วนกลุ่มที่ได้การส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) จะคืนทุนเร็วภายใน 2-3 ปี ดังนั้นปัจจุบันโรงงานส่วนใหญ่จึงพยายามติดตั้งโซลาร์ฯ เพื่อลดต้นทุนกันมากขึ้น  ส่วนภาคครัวเรือนต้องยอมรับว่ายังติดตั้งโซลาร์ฯได้ช้า เนื่องจากมาตรการภาครัฐไม่จูงใจ โดยรับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินเพียงราคา 2.20 บาทต่อหน่วย ขณะที่ราคาค่าไฟฟ้าที่ประชาชนจ่ายให้การไฟฟ้าสูงถึงกว่า 4 บาทต่อหน่วย รวมทั้งภาครัฐไม่มีงบสนับสนุนการลงทุนสำหรับภาคครัวเรือนและปัญหาสำคัญอีกประการคือ ระเบียบราชการที่เป็นอุปสรรคต่อการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป แม้ที่ผ่านมาภาคเอกชนจะกระตุ้นให้ภาครัฐแก้ไขกฎระเบียบที่ยุ่งยากมากว่า 10 ปีแล้ว แต่ก็ยังไม่หมด  โดยที่ผ่านมากระทรวงอุตสาหกรรมได้ยกเว้นให้การติดตั้งโซลาร์ฯ ขนาดไม่เกิน 1 เมกะวัตต์ ไม่ต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน(รง.4) ไปแล้ว และขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาให้ยกเลิกใบ รง.4 กับโรงไฟฟ้าทุกชนิดด้วย เพื่อจะได้ไม่ติดปัญหาด้านผังเมือง รวมทั้งการเปิดเสรีไฟฟ้า ซึ่งเชื่อว่าอนาคตอุปสรรคต่างๆจะลดลงไปอีกและทำให้ภาคครัวเรือนได้ติดตั้งโซลาร์ฯ เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เองได้มากขึ้น  นายสัมฤทธิ์ สิทธิวรานุวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท Solar D กล่าวว่า มั่นใจว่าการติดตั้งโซลาร์ฯในประเทศไทยจะเติบโตอย่างแน่นอน โดยดูจากทิศทางของโลกที่ปัจจุบันใช้ไฟฟ้าจากโซล่าร์ฯ อยู่ประมาณ 10% ของกำลังผลิตไฟฟ้าจากทุกประเภท และโลกคาดการณ์ว่าจะมีการใช้เพิ่มขึ้นถึง 50% ในอีก 20 ปีข้างหน้า  ดังนั้นการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ในอนาคตจะสูงถึง 6-7 หมื่นเมกะวัตต์  ซึ่งประเทศไทยก็มีแนวโน้มจะใช้ไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์เพิ่มขึ้น หลังจากค่าไฟฟ้าเดือน ก.ย. 2565 ที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้ประชาชนเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ใช้เองมากขึ้น นายวีรุจน์ เตชะสุวรรณ Country Manager บริษัท Solar Edge กล่าวว่า จากการทำธุรกิจด้านโซลาร์ฯ มากว่า 10 ปี ทำให้เห็นว่าปัจจุบันโรงงานและภาคครัวเรือนติดตั้งโซลาร์เซลล์กันมากขึ้นจริงๆยิ่งปัจจุบันได้รับการคืนทุนเร็วเพียง 5-7 ปี ขณะที่การผลิตไฟฟ้าโซลาร์ฯมีอายุถึง 25 ปี ทำให้คุ้มค่าต่อการลงทุน ประกอบกับค่าไฟฟ้าเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นปีละ 2-3% ทำให้โซลาร์ฯ เป็นสิ่งที่น่าสนใจและเริ่มเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น โดยในต่างประเทศนั้นภาคครัวเรือนจะติดตั้งโซลาร์ฯมากกว่าภาคอุตสาหกรรม ส่วนในประเทศไทย ภาคอุตสาหกรรมกลับติดตั้งมากกว่าภาคครัวเรือนทั้งนี้เนื่องจากช่วยลดต้นทุนภาคอุตสาหกรรมได้ ดังนั้นแต่ละโรงงานจึงแข่งขันติดตั้งโซลาร์ฯกันเพิ่มขึ้น ขณะที่ภาคครัวเรือนยังเจออุปสรรคด้านการลงทุนและกฎระเบียบรัฐในการขออนุญาตทำให้การติดตั้งดูช้าลง ดังนั้นหากรัฐผ่อนคลายกฎระเบียบ เชื่อว่าภาคครัวเรือนจะหันมาติดตั้งโซลาร์ฯ กันอย่างก้าวกระโดด นายวรวรรธน์ นาคะวิโร ผู้อำนวยการระดับภูมิภาคด้านระบบไฟฟ้า บริษัท หัวเหว่ย เทคโนโลยี่(ประเทศไทย) กล่าวว่า มั่นใจว่าการติดตั้งโซลาร์ฯจะเติบโตมาก เพราะแผนพลังงานแห่งชาติที่ออกมาใหม่จะมุ่งไปยังการผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทนเป็นหลัก ประกอบกับช่วงนี้ค่าไฟฟ้าแพงทำให้ประชาชนหันมาสนใจการติดตั้งโซลาร์ฯ มากขึ้น แต่ยอมรับว่าสัดส่วนการติดตั้งภาคครัวเรือนยังน้อยเพราะราคายังไม่ถึงจุดที่ภาคครัวเรือนจะแห่ติดตั้ง ส่วนแบตเตอรี่ก็ยังติดตั้งน้อยเพราะราคาแพง อย่างไรก็ตามอยากให้ภาครัฐลดกฎระเบียบการออกใบอนุญาตติดตั้งโซลาร์ฯให้น้อยลง เพื่อให้ภาคครัวเรือนติดตั้งได้สะดวกขึ้น ดร.พิมพา ลิ้มทองกุล ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมพลังงาน ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติและนายกสมาคมเทคโนโลยีระบบกับเก็บพลังงานไทย กล่าวว่า การติดตั้งแบตเตอรี่สำรอง(Storage)ในการผลิตไฟฟ้าโซลาร์ฯ เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยกักเก็บไฟฟ้าไว้ใช้ได้ตลอดวัน  แต่การเติบโตของการใช้ Storage ก็ขึ้นอยู่กับราคาเป็นหลัก โดยต้นทุน Storage จะอยู่ที่ 4 บาทต่อการเก็บไฟฟ้า 1 หน่วย เมื่อรวมกับการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์ฯ อีก 2 บาทต่อหน่วย ทำให้ราคาค่าไฟฟ้าจากโซลาร์ฯ สูงถึง 6 บาทต่อหน่วย ดังนั้นหากจะให้คุ้มค่าในการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์ ฯต้นทุน Storage จะต้องถูกกว่า 4 บาทต่อหน่วย  หรือถ้าลดลงเหลือ 1.5 บาทต่อหน่วย และเมื่อรวมกับค่าผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์ฯ 2 บาทต่อหน่วย ราคาค่าไฟฟ้าจะเหลือเพียง 3.5 บาทต่อหน่วย ซึ่งจะถูกกว่าการใช้ดีเซลในการผลิตไฟฟ้า ที่มีราคาถึง 6 บาทต่อหน่วย ปัจจุบันมีเทคโนโลยีในการผลิต Storage มากขึ้น แต่เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนการกักเก็บพลังงานจะพบว่าลิเธียมไอออนยังคุ้มค่าต่อการใช้งานมากกว่าและยังคงเป็นเทคโนโลยีทางเลือกในการผลิต Storage ไปได้จนถึงปี 2583  นางรัตติยา หรรษาภิพัฒน์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมผู้ประกอบกิจการไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กล่าวว่า ผู้ผลิตไฟฟ้าที่ติดตั้งโซลาร์เซลล์เชื่อมโยงกับเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวเอง หรือไม่ผ่านระบบสายส่งการไฟฟ้า จะไม่ต้องขออนุญาตติดตั้งโซลาร์ฯกับการไฟฟ้า ส่วนกลุ่มที่ใช้ไฟฟ้าของการไฟฟ้า แต่มีโซลาร์ฯ เป็นไฟฟ้าสำรอง และกลุ่มที่ใช้โซลาร์ฯคู่ขนานกับการใช้ไฟฟ้าของการไฟฟ้าจะต้องขออนุญาตติดตั้งโซลาร์ฯ จากการไฟฟ้าด้วย โดยขั้นตอนดำเนินการสำหรับผู้ที่จะต้องขออนุญาตกับการไฟฟ้า มีดังนี้ 1.จะต้องยื่นขออนุญาตเชื่อมต่อระบบกับการไฟฟ้า 2.ยื่นขอจดแจ้งยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน 3.เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะชำระค่าธรรมเนียม 4.จากนั้นติดตั้งโซลาร์เซลล์ได้ 5. การไฟฟ้าจะเข้าทำการเปลี่ยนมิเตอร์เป็นมิเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ให้แทน และ 6. เริ่มเข้าสู่กระบวนการเชื่อมต่อจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบโดยขั้นตอนทั้งหมดมีไว้เพื่อให้ผู้ใช้ไฟฟ้าเกิดความปลอดภัยทุกขั้นตอน ที่มา SETA 2022 เอกชนชี้ทิศทางโซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้ามีแนวโน้มเติบโตขึ้นหลังค่าไฟฟ้าพุ่งสูง - Energy News…

Read more

กฟผ. ร่วมโชว์นวัตกรรมและเทคโนโลยีพลังงานสะอาด หนุนไทยสู่เป้าหมาย Net Zero ในงาน SETA 2022

กฟผ. ร่วมสนับสนุนการจัดงานประชุมและนิทรรศการระดับนานาชาติ เพื่อผลักดันประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2050 สู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ปี 2065 พร้อมร่วมโชว์นวัตกรรมและเทคโนโลยีพลังงานสะอาด Hydro-Floating Solar Hybrid, Carbon Capture, Hydrogen และ EV ในงาน SETA 2022, SOLAR+STORAGE ASIA 2022 และ Enlit Asia 2022 ระหว่างวันที่ 20 – 22 กันยายนนี้ ณ ศูนย์ประชุมและนิทรรศการไบเทค บางนา…

Read more

ปตท. รายงานราคาน้ำมันโลกประจำสัปดาห์ 12-16 ก.ย. เพิ่มขึ้น หลังสหรัฐฯ ส่งสัญญาณหยุดระบายน้ำมันดิบจากคลังสำรองฯ ขณะจีนยุติล็อกดาวน์เฉิงตู

ทีมวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ หน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รายงานว่า ราคาน้ำมันดิบอ้างอิงเฉลี่ยทุกชนิดสัปดาห์ล่าสุด เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนหน้า 0.60 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จนถึงเกือบ 2 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล หลังสหรัฐฯ ส่งสัญญาณจะหยุดระบายน้ำมันดิบจากคลังสำรองปิโตรเลียมเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Petroleum Reserve: SPR) เพิ่มเติม หลังจากมาตรการปัจจุบัน (เริ่มตั้งแต่เดือน มี.ค. 65) จะสิ้นสุดในเดือน ต.ค. 65 ปริมาณรวมประมาณ 1 MMBD ใน 6 เดือน หรือ 180 MMB ทั้งนี้ Bloomberg…

Read more

กบน.สั่งเรียกเก็บเงินผู้ใช้ดีเซลเข้ากองทุนน้ำมัน 1.13 บาทต่อลิตร มีผลตั้งแต่ 17 ก.ย.65

คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง(กบน.) เลิกชดเชยราคาดีเซลอีกครั้ง พร้อมเรียกเก็บเงินผู้ใช้ดีเซลเข้ากองทุนฯ 1.13 บาทต่อลิตร มีผลพรุ่งนี้ 17 ก.ย. 2565 หลังราคาดีเซลสิงคโปร์ปรับลดลงกว่า 9 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล จากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยการใช้น้ำมันลดลง ส่งผลช่วยกองทุนฯ ลดภาระชดเชยน้ำมันและมีรายได้เข้ากระเป๋าเพิ่มเป็นวันละ 71.67 ล้านบาท แต่สถานะกองทุนฯโดยรวมยังติดลบหนักถึง 1.24 แสนล้านบาท นายวิศักดิ์ วัฒนศัพท์ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง(กบน.) ที่มีนายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธานในวันที่ 16 ก.ย. 2565 ได้มีมติเรียกเก็บเงินผู้ใช้น้ำมันกลุ่มดีเซลเข้ากองทุนน้ำมันฯ 1.13 บาทต่อลิตร สำหรับกลุ่มผู้ใช้ดีเซลธรรมดา, ดีเซล B7, ดีเซล B20 และดีแซลเกรดพรีเมียม โดยมีผลตั้งแต่วันที่…

Read more
Back To Top